top of page
ค้นหา
tdteam

3. Rususcitation/ การกู้ชีพ

อัปเดตเมื่อ 16 ก.ย. 2562

ข้อแตกต่างระหว่างความเป็นและความตายในกรณีฉุกเฉินอาจจะขึ้นอยู่กับการให้ความช่วยเหลือในการกู้ชีพอย่างรวดเร็ว การกู้ชีพประกอบด้วยการกู้ชีพด้วยการเป่าปาก (Expired Air Resuscitation – EAR) และการปั้มหัวใจ (Cardio Pulmonary Resuscitation – CPR)


การกู้ชีพ

ตัวอักษรย่อสำคัญที่ควรจะต้องจำคือ DRABCD. DRABCD เป็นการเรียงลำดับอักษรเพื่อใช้ในทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน.

  • Danger (อันตราย)- ตรวจสอบอันตรายให้กับตัวเอง,ผู้บาดเจ็บหรือคนอื่นๆ

  • Response (การตอบสนอง) - ตรวจสอบการตอบสนองของผู้บาดเจ็บโดยการเขย่าไหล่ของผู้บาดเจ็บและ/หรือ ถามชื่อผู้บาดเจ็บ

  • Airway (ทางลม) - ตรวจสอบว่ามีวัตถุแปลกปลอมในปากของผู้บาดเจ็บซึ่งอาจจะเป็นตัวปิดกั้นการหายใจ

  • Breathing (การหายใจ) - คุณสามารถมองเห็นหน้าอกกระเพื่อมขึ้น-ลง, คุณสามารถได้ยินเสียงหายใจของ ผู้บาดเจ็บ, คุณสามารถรู้สึกได้ถึงการหายใจของผู้บาดเจ็บ หรือไม่? ถ้าไม่หายใจ ให้เรียกรถพยาบาลทันที

  • Circulation (การหมุนเวียน) - ตรวจสอบชีพจร ถ้าพบว่าชีพจรยังอยู่ และ ผู้บาดเจ็บไม่หายใจ เริ่มต้นทำการกู้ชีพด้วยการเป่าปาก (EAR)

  • Defibrillation (การปั้มหัวใจด้วยเครื่อง) - ต่อสายเครื่องปั้มหัวใจและดำเนินการปั้มหัวใจทันที ถ้าไม่มีเครื่องปั้มหัวใจ ให้เริ่มต้นทำการกู้ชีพด้วยการปั้มหัวใจ (CPR)


อัตราส่วนของการปั้มหัวใจต่อการหายใจ ในการทำ CPR คือ 30:2 และ มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้

  • คุกเข่าข้างผู้บาดเจ็บ

  • วางฝ่ามือข้างหนึ่งตรงกลางหน้าอกของผู้บาดเจ็บ

  • วางฝ่ามืออีกข้างหนึ่งบนฝ่ามือแรกและประสานนิ้วมือทั้งหมดให้แน่น

  • วางตำแหน่งของตัวคุณให้อยู่เหนือผู้บาดเจ็บ (คล่อม) และยืดแขนทั้งสองข้างให้ตรง กดลงไปให้ได้ 1/3 ของความลึกหน้าอก

  • ผ่อนแรงกดโดยไม่ให้มือทั้งสองข้างหลุดออกจากกัน

  • ทำเช่นนี้ 30 ครั้ง ในอัตราส่วน100 ครั้งต่อนาที


ปฏิบัติการกู้ชีพด้วยการเป่าปากมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้

  • วางฝ่ามือข้างหนึ่งตรงหน้าผากของผู้บาดเจ็บและวางฝ่ามืออีกข้างหนึ่งใต้คอของผู้บาดเจ็บ ค่อย ๆ กระดกศรีษะไปด้านหลังเพื่อเปิดทางลม

  • วางนิ้วใต้คางของผู้บาดเจ็บและเงยคางขึ้นเพื่อเปิดทางลม

  • ให้ปากเปิดออกขณะที่คางยังเงยอยู่

  • สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอดและประกบปากผู้บาดเจ็บให้แน่ใจว่าสนิท(วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยชีวิตแบบนี้ คือ การทำผ่านเครื่องป้องกัน เพราะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยมาก)

  • เป่าลมเข้าไปในปากผู้บาดเจ็บ ขณะที่จ้องดูหน้าอกกระเพื่อมขึ้น

  • ยังคงให้ศรีษะผู้ป่วยกระดกขึ้นและคางเงยขึ้น เอาปากออกจากผู้บาดเจ็บและมองดูหน้าอกกระเพื่อมลง

  • ทำตามขั้นตอนแบบเดิมอีก 2 ครั้ง

  • หยุดเพื่อตรวจสอบผู้บาดเจ็บอีกครั้ง ดูว่าผู้บาดเจ็บเริ่มหายใจเป็นปรกติ, มิฉะนั้นห้ามหยุดปฏิบัติการกู้ชีพ

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

17. Terror Threat Levels/ ระดับวิธีการป้องกันและวิธีการก่อการร้าย

ภัยพิบัติต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 911 ถล่มตึกเวิล์ดเทรดม การลอบวางระเบิดที่บาหลีในปี 2545 การลอบวางระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี...

20. Workstation Security/ ความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ในที่ทำงาน

กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานทุกคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงแรมพนักงานที่เคาน์เตอร์ต้อนรับผู้จัดการทั่วไปผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ...

19. Document Storage And Disposal/ การทำลายและจัดการเอกสารเอกสาร

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการทั่วไป ข้อแนะนำในการฝึก : สอบถามผู้ฝึกว่ามีความคุ้นเคยกับการจัดการเอกสารหรือไม่ให้หนึ่งในผู้ฝึกแบ่งปันเรื่องราวใ...

Comments


bottom of page