top of page
ค้นหา
tdteam

11. Crisis And Incident Reporting/ การจัดทํารายงานอุบัติเหตุ และเหตุการณ์ฉุกเฉิน

อัปเดตเมื่อ 16 ก.ย. 2562

การจัดทํารายงานอุบัติเหตุ และเหตุการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็น ข้อบังคับที่ทุกแผนกจะต้องทํา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาไว้ ซึ่งสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของลูกค้า และ พนักงาน ลดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของโรงแรมและ IHG เพื่อขจัดความสูญเสีย และมีมาตรการในเชิงรุก รวมถึงการควบคุมอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดขึ้นในภายหลัง


การจัดทํารายงานอุบัติเหตุมี 2 ระดับ ซึ่งมีหลักการสําคัญดังนี้


1. เหตุการณ์ร้ายแรง

  • กรณีการเสียชีวิตของลูกค้า พนักงาน หรือผู้มาเยี่ยม

  • การทารุณกรรมทางเพศ

  • การทําร้ายให้เกิดบาดแผลแก่ร่างกายของลูกค้า พนักงาน หรือผู้มาเยี่ยม

  • การประสบเหตุเพลิงไหม้ หรือ ภัยธรรมชาติ อันส่งผล กระทบต่อทรัพย์สิน หรือเป็นอันตรายต่อลูกค้า หรือพนักงาน

  • การปล้นทรัพย์สิน ที่มีมูลค่ามากกว่า 50,000 เหรียญ สหรัฐ (หรือประมาณ 1,750,000 บาท)

  • เหตุการณ์ที่ส่งผลให้ลูกค้า พนักงาน หรือผู้มาเยี่ยม ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)

  • เหตุการณ์อื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการเงิน หรือสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของ โรงแรม หรือ IHG ต่อสาธารณชน

  • เหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านี้จะต้องรายงานต่อ สํานักงาน การจัดการความเสี่ยงของภูมิภาคเอเซีย และแปซิฟคอ ย่างทันที หรือ CR 24 ผ่าน +44 (2) 207 939 8831


2. อุบัติเหตุทั่วไป และการเรียกร้องค่าเสียหาย

อุบัติเหตุทั้งหมด การเรียกร้องค่าเสียหาย หรืออื่นๆที่สามารถเรียกร้องค่าชดเชย จะต้องรายงายภายใน 24 ชั่วโมง อาทิเช่น

  • ไฟไหม้

  • เงินสดสูญหาย

  • เหตุการณ์ที่ตํารวจมีส่วนร่วมไต่สวน

  • จดหมาย หรือ เอกสารเรียกร้องค่าเสียหาย

  • การร้องเรียนเรื่องอาหารเป็นพิษ

  • การประท้วง การนัดหยุดงาน

  • สาธารณูปโภคหลัก (เช่น ไฟฟ้า น้ําประปา) ขัดข้อง

  • ประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  • เหตุการณ์ดังกล่าวควรจะต้องรายงานโดย

  • โดยวาจา ต่อ สํานักงานการจัดการความเสี่ยงของภูมิภาค เอเซีย และแปซิฟิค หรือ โทร +65 6395 6152

  • โทรสาร + 65 6395 6158

  • จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ap.incidentreport@ihg.com

แบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุและเหตุการณ์ฉุกเฉิน สามารถจัดทําได้ในรูปแบบเอกสาร และรูปแบบเอกสารอิเลคทรอนิคส์ เพื่อที่จะแจ้งสํานักงานการจัดการความเสี่ยงของภูมิภาคเอเซีย และแปซิฟิค


การจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

การจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ควรคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  • การจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือทางการแพทย์

  • การควบคุมเหตุการณ์

  • การจัดเตรียมการช่วยเหลือ

  • การช่วยเหลือโดยการให้รายละเอียดของเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น

  • ไม่กล่าวคํารับรองที่จะนํามาซึ่งภาระทางกฎหมายใดๆ

ถ้าลูกค้าต้องการร้องขอสําเนารายงานอุบัติเหตุและเหตุการณ์ฉุกเฉิน ข้อกําหนดในรายงานควรจัดเตรียมให้กับลูกค้าอย่างง่ายๆ ดังนี้

  • เหตุการณ์ที่ถูกบันทึกไว้

  • ระบุลูกค้าโดยเฉพาะเจาะจง หรือพนักงานที่ได้รับผลกระทบ หรือพยานที่อยู่ในเหตุการณ์

  • ลักษณะของเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุ อาทิ เช่น การขโมย, ผู้ได้รับบาดเจ็บ, เพลิงไหม้, หรืออื่น ๆ

  • วันที่เกิดเหตุ

  • สถานที่เกิดเหตุการณ์

  • รายละเอียดของความสูญเสีย ความเสียหาย หรือ ผู้บาดเจ็บ อาทิเช่น หัวเข่าเป็นรอยฟกช้ำ เงินสดถูกโขมย หรือ อื่นๆ

รายงานอุบัติเหตุและเหตุการณ์ฉุกเฉินนี้ควรจัดทําโดยปราศจาก อคติ และไม่มีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

17. Terror Threat Levels/ ระดับวิธีการป้องกันและวิธีการก่อการร้าย

ภัยพิบัติต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 911 ถล่มตึกเวิล์ดเทรดม การลอบวางระเบิดที่บาหลีในปี 2545 การลอบวางระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี...

20. Workstation Security/ ความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ในที่ทำงาน

กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานทุกคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงแรมพนักงานที่เคาน์เตอร์ต้อนรับผู้จัดการทั่วไปผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ...

19. Document Storage And Disposal/ การทำลายและจัดการเอกสารเอกสาร

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการทั่วไป ข้อแนะนำในการฝึก : สอบถามผู้ฝึกว่ามีความคุ้นเคยกับการจัดการเอกสารหรือไม่ให้หนึ่งในผู้ฝึกแบ่งปันเรื่องราวใ...

Comments


bottom of page